วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติครูภูมิปัญญาท้องถิ่น  ตำบลโกตาบารู
นางสาวเสาวลักษณ์  สืบประดิษฐ์
นวดแผนโบราณ(แพทย์แผนไทย)
ชื่อ นางสาวเสาวลักษณ์  นามสกุล สืบประดิษฐ์  เชื้อชาติ ไทย  สัญชาติ ไทย หมายเลขบัตรประชาชน วันเดือนเกิด 14 เมษายน  อายุ 33 ปี  ภูมีลำเนา 45 หมู่ที่ 4 ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94180
                สถานที่ทำงาน  โรงพยาบาลรามัน  อำเภอรามัน  จังหวัดยะลา  95140
                วุฒิการศึกษา/ระดับการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อนุปริญญาแพทย์แผนไทยประยุกต์  2 ปี
ประวัติชีวิตและผลงาน
                ความเชี่ยวชาญภูมิปัญญา ด้านการแพทย์ไทย
                ได้รับความเชี่ยวชาญ การศึกษามาจากวิทยาลัยแพทย์แผนไทย
ประสบการณ์การทำงานด้านที่เชี่ยวชาญ
                ด้านที่เชี่ยวชาญในเฉพาะ มีความเชี่ยวชาญด้านอาชีพและการนวดแผนไทยโดยได้ทำงานที่โรงพยาบาลรามัน
                ระยะเวลาการทำงานด้านที่มีความเชี่ยวชาญ  ประสบการณ์ทำงาน 1 ปี 5 เดือน
วิธีการนวดแผนไทย
                การนวดแผนไทยหรือนวดแผนโบราณ  เป็นการนวดชนิดหนึ่งในแบบไทย  ซึ่งเป็นศาสตร์บำบัดและรักษาโรคแขนงหนึ่งของแพทย์แผนไทย  โดยเน้นลักษณะการยืดเส้นและกดจุด ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อนวดแผนโบราณ  โดยมีหลักฐานว่านวดแผนไทยนั้นประวัติมาจากประเทศอินเดีย และมีการนำเข้าประเทศไทย  จากนั้นได้ถูกนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับวัฒนธรรมของสังคมไทย  จนเป็นรูปแบบแผนที่เป็นมาตรฐานของไทยล่างทอดมาจนถึงปัจจุบัน  การนวดแผนไทยแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายราชสำนักและสายเชลยศักดิ์
                การนวนแบบราชสำนัก  เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของการนวดนี้คือ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่  ผู้มียศถาบันดาศักดิ์ที่อยู่ในรั่วในวัง  ฉะนั้นการนวดจึงถูกออกแบบที่เน้นการใช้นิ้วมือและมือเท่านั้น และถ้าวงถ้าที่ใช้ในการนวดมีความสุภาพเรียบร้อย  มีข้อจำกัดในการเรียนมากมาย  ผู้ที่เชียวชาญทางวิชาชีพด้านนี้ จะได้ทำงานอยู่ในรั่วในวังเป็นหมอหลวง มียศตำแหน่ง
                การนวดแบบเชลยศักดิ์  เป็นการนวดที่ใช้ในระดับชาวบ้านด้วยท่าทางทั่วไป  ไม่มีแบบแผนหรือพิธีรีตองในการนวดมากนักอีกทั้งยังสามารถใช้อวัยวะอื่นๆ เช่น เข่า ศอก เท้า  เพื่อช่วยทุ่นแรงในการนวดได้ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากการนวดแบบราชสำนักที่เน้นการใช้มือเพียงอย่างเดียว
                จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการนวดไทยที่เก่าแก่ที่สุด คือ ศิราจารึกสมัยสุโขไทยที่ขุดพบในป่ามะม่วง ซึ่งตรงกับสมัยพ่อขุนรามคำแหง  ซึ่งได้จารึกรูปรักษาโรคด้วยการนวดไว้
ประโยชน์ของการนวด
1.               ทำให้การไหลเวียนโรหิตดีขึ้น
2.               คลายเครียดบันเท่าอาการโรคลมต่างๆ
3.               ลดอาการปวดเมื่อยบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย
4.               บรรเทาอาการเคล็ดขัดยอก  มือชา  เท้าชา
ขั้นตอนการนวดแผนไทย
1.               การกด เป็นการใช้น้ำหนักกดบนกล้ามเนื้อ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วโป้งกดนวด เป็นวงกลม ฝ่ามือกดเป็นวงกลมและใช้น้ำหนักตัวกด
2.               การบีบ  เป็นการใช้น้ำหนักการบีบกล้ามเนื้อให้เต็มฝ่ามือเข้าหากันโดยการออกแรง  สามารถใช้นิ้วหัวแม่มือช่วยเป็นการช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
3.               การทุบและตบสับ  ใช้มือและกำปั้นทุบกล้ามเนื้อเบาๆ เป็นการผ่อนคลายการตึงของกล้ามเนื้อและให้เลือดหมุนเวียนดีขึ้น
4.               การคลึง  เป็นการใช้น้ำหนักกดบริเวณกล้ามเนื้อ โดยการหมุนแขนในกล้ามเนื้อเคลื่อนหรือคลึงเป็นวงกลม
5.               การถู  ใช้น้ำหนักถูไปมา  หรือวนไปมาเป็นวงกลม เพื่อช่วยผ่อนคลายอาการปวดเมื่อยเฉพาะจุด
6.               การหมุน  เป็นการออกแรงหมุนข้อต่อกระดุก วนเป็นวงกลม ช่วยให้การเคลื่อนไหวทำงานของข้อต่อดีขึ้น
7.               การกลิ้ง  เป็นการใช้ศอกและแขนกดแรงๆ ในกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่น ต้นแขน
8.               การสั่นเขย่า  ใช้มือขาหรือแขนของผู้ถูกนวด เพื่อนช่วยทำให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อไปในตัว
9.               การบิด  ลักษณะคล้ายการหมุน แต่เป็นการออกแรงบิดกล้ามเนื้อของข้อต่อให้ยืดขยายออกไปในแนวทแยง
10.         การยืดดัดตัว  เป็นการใช้ฝ่าเท้าออกแรงยืดกล้ามข้อต่อให้ยืดขยายออกไปทางยาว ช่วยให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นยืดคลายตัว
ผู้สำรวจข้อมูล
1.               นางสาวอัมพร     แท่นสะอาด     นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
2.               นางสาวอุมัยหมะ     มาลีเละ     อาสาสมัครวัฒนธรรมอำเภอรามัน
วันที่เก็บสำรวจข้อมูล
        5  มิถุนายน  2553
                                                                                                    ที่มา
        หนังสือคู่มือการถ่านทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอรามัน จังหวัดยะลา